วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

เมื่อผู้ประกันตนเป็นผู้ประสบภัยจากรถ จะเบิกได้ทั้งจากประกันสังคมและประกันภัยหรือไม่่

พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เป็น กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ ให้ความคุ้มครอง แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการ ซึ่งประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน และในกรณีอื่น ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ในกรณีผู้ประกันตน จะต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ในโรงพยาบาล จะต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ในโรงพยาบาล ตามที่ระบุไว้ ในบัตรรับรองสิทธิ หรือเครือข่ายของโรงพยาบาลนั้น ในกรณีนี้ ผู้ประกันตน ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาล แต่ถ้าเป็นกรณีฉุกเฉิน ผู้ประกันตน อาจเข้ารับการรักษาพยาบาล ในโรงพยาบาลอื่น อันมิใช่โรงพยาบาล ที่ระบุไว้ในบัตรรับรองสิทธิ ได้ไม่เกิน 72 ชั่วโมง แต่ผู้ประกันตน ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน แล้วนำใบเสร็จ มาเบิกคืนจาก สำนักงานประกันสังคมภายหลัง ตามสิทธิที่ได้รับ

ส่วนพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็น กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ ให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ซึ่งได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย เนื่องจากรถที่ใช้ หรืออยู่ในทาง หรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุก หรือติดตั้งในรถนั้น โดยความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยนั้น ต้องเป็นความเสียหาย ที่เกิดจากรถ เช่น รถชน หรือรถพลิกคว่ำ เป็นต้น

ปัญหาที่จะต้องพิจารณาก็คือ ถ้าผู้ประกันตน ตกเป็นผู้ประสบภัยจากรถ จะเรียกร้องได้ทั้งจาก พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และจากบริษัทประกันภัยหรือ ไม่ ถ้าผู้ประกันตน ได้รับอันตรายจากรถ ที่ปฏิบัติกันอยู่เป็นปกติในเวลานี้ก็คือ โรงพยาบาลจะให้ผู้ประกันตน ใช้สิทธิจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ก่อน เพื่อโรงพยาบาล จะได้ไม่ต้องควักกระเป๋าของโรงพยาบาล เพราะโรงพยาบาล ได้รับเงินมาจำนวนหนึ่ง เป็นการเหมาจากสำนักงานประกันสังคม ขาดทุนกำไรเป็นเรื่องของโรงพยาบาลเอง เท่ากับว่าโรงพยาบาล เป็นบริษัทประกันภัยบริษัทหนึ่ง ถ้าผู้ประกันตน ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ได้ครบถ้วนแล้ว ก็จบกันไป เพราะถือว่า ได้รับค่าสินไหมทดแทนครบถ้วนแล้ว จะมาเรียกร้องตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 อีกไม่ได้

เมื่อมีผู้ประสบภัยจากรถ มาเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล โรงพยาบาลทั้งหลาย ต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ผู้ประสบภัย ต้องใช้สิทธิจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ก่อน ถ้าไม่พอ จึงจะเบิกจากพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้ ซึ่งก็มีความหมายอยู่ในตัวว่า จะเบิกทั้งสองทางไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีกฎหมายเขียนไว้ตรงไหนเลยว่า ผู้ประกันตน จะต้องเบิกจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ก่อน เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า นายธนวัฒน์ เป็นลูกจ้างของบริษัท วิงเกิ้ล จำกัด และเป็นผู้ประกันตน โดยให้โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท เป็นสถานพยาบาล ที่ให้บริการทางการแพทย์ ต่อมาเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2537 นายธนวัฒน์ ได้ขับรถยนต์ประสบอุบัติเหตุ ชนกับรถจักรยานยนต์ เป็นผลทำให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส และหมดสติ มีผู้นำส่งโรงพยาบาลแพทย์รังสิต นายธนวัฒน์ เสียค่าบริการทางการแพทย์ ไปเป็นเงิน 7,905 บาท หลังจากนั้น น้องภริยาของนายธนวัฒน์ ได้นำนายธนวัฒน์ ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลสมิติเวช เสียค่ารักษาพยาบาลทางการแพทย์ไปอีก 138,420 บาท รวมสองแห่งเป็นเงินทั้งสิ้น 146,325 บาท นายธนวัฒน์ ได้ใช้สิทธิของภริยา ซึ่งรับราชการเบิกค่ารักษาพยาบาล จากทางราชการเป็นเงินทั้งสิ้น 23,643 บาท และได้เบิกเงินค่ารักษาพยาบาล จากบริษัทประกันภัย ที่รับประกันภัยรถ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 อีกจำนวน 10,000 บาท

หลังจากนั้น นายธนวัฒน์ ได้ยื่นคำร้องขอรับเงินผลประโยชน์ทดแทน กรณีเจ็บป่วย จากสำนักงานประกันสังคม แต่สำนักงานประกันสังคม วินิจฉัยว่า นายธนวัฒน์ ไม่มีสิทธิได้รับจากพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ใน ส่วนที่เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลรังสิต จำนวน 7,905 บาท เพราะนายธนวัฒน์ ได้เบิกจากบริษัทประกันภัย ที่รับประกันภัยรถตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แล้ว จำนวน 10,000 บาท เพราะเป็นการซ้ำซ้อน ถือเป็นการค้ากำไร จากการประกันสังคม ส่วนค่ารักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลสมิติเวช มิใช่โรงพยาบาลที่กำหนด จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ในส่วนนี้

นายธนวัฒน์ ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์ วินิจฉัยว่า อาการบาดเจ็บของนายธนวัฒน์ ที่เกิดจากอุบัติเหตุ และถูกนำส่งโรงพยาบาลแพทย์รังสิต ซึ่งอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ มีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ แต่เนื่องจาก นายธนวัฒน์ ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 จำนวน 10,000 บาทแล้ว จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลในส่วนนี้อีก ส่วนการรักษาพยาบาลต่อมา ที่โรงพยาบาลสมิติเวช นายธนวัฒน์ มิได้ปฏิบัติตามระเบียบของสำนักงานประกันสังคม จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน ค่าบริการทางการแพทย์ (คำวินิจฉัยที่ 271/2538)

นายธนวัฒน์ จึงฟ้องสำนักงานประกันสังคม เป็นจำเลยต่อศาล สำนักงานประกันสังคม ให้การต่อสู้ว่า กรณีที่นายธนวัฒน์ เข้ารับการรักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลแพทย์รังสิต เพราะประสบอุบัติเหตุ ถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่ไม่สามารถไปรับการรักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลกล้วยน้ำไทได้ นายธนวัฒน์ จึงมีสิทธิได้รับเงินค่าบริการทางการแพทย์ จำนวน 7,905 บาท จากสำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นการให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้าง เมื่อประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน เป็นการให้ความคุ้มครองด้านสวัสดิการแก่ลูกจ้าง เมื่อได้รับความเดือดร้อนเจ็บป่วย ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แต่เมื่อนายธนวัฒน์ ได้รับสิทธิประโยชน์จากบริษัทผู้รับประกันภัยรถ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นเงิน 10,000 บาท ซึ่งคุ้มกับจำนวนเงินที่นายธนวัฒน์ ได้เสียค่าบริการทางการแพทย์ ให้แก่โรงพยาบาลแพทย์รังสิตแล้ว นายธนวัฒน์ จึงไม่มีสิทธิเรียกจาก สำนักงานประกันสังคมอีก ส่วนค่ารักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลสมิติเวช มิใช่สถานพยาบาล ที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด แต่เป็นความประสงค์ของนายธนวัฒน์เอง โดยยังอยู่ในวิสัยที่นายธนวัฒน์ จะมารักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท อันเป็นโรงพยาบาลที่กำหนด ให้นายธนวัฒน์เข้ารักษา แต่นายธนวัฒน์ ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ในส่วนนี้

ศาลแรงงานกลางพิจารณา แล้วพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของกองประโยชน์ทดแทน และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลรังสิต จำนวน 7,905 บาท สำนักงานประกันสังคม อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงาน วินิจฉัยว่า คดีคงมีปัญหาตามอุทธรณ์ ของสำนักงานประกันสังคม เฉพาะที่เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลแพทย์รังสิต จำนวน 7,905 บาท ว่า เมื่อนายธนวัฒน์ ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาล จำนวน 10,000 บาท จากบริษัทผู้รับประกันภัยรถ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แล้ว นายธนวัฒน์ จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ จำนวน 7,905 บาท ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 อีกหรือไม่ ซึ่งสำนักงานประกันสังคมอุทธรณ์ว่า พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มีเจตนารมณ์ ที่จะช่วยเหลือสงเคราะห์ลูกจ้าง และบุคคลอื่น ที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน รวมทั้งการคลอดบุตร ชราภาพ และกรณีว่างงาน ซึ่งให้หลักประกัน เฉพาะลูกจ้างอันเป็นการช่วยเหลือ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ ให้ลูกจ้างมาค้ากำไรจากการประกันสังคมนี้ ฉะนั้น จึงเบิกซ้ำซ้อนไม่ได้ เมื่อเงินในส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายไป เบิกได้จากบริษัทประกันภัย ที่ได้รับประกันภัยรถแล้ว หากให้สิทธิแก่ลูกจ้าง มาเบิกจากสำนักงานประกันสังคมได้อีก ก็เท่ากับลูกจ้าง เบิกได้ซ้ำซ้อนสองทาง จากอุบัติเหตุเดียวกัน

กรณีจะเทียบเคียงกับพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ไม่ได้ ต้องใช้หลักกฎหมายทั่วไป ในเรื่องประกันวินาศภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 870, 871, 872, 873, 874 และมาตรา 877
ประกอบด้วยมาตรา 4 มาบังคับเห็นว่า สิทธิของนายธนวัฒน์ ที่ได้รับเงินทดแทน ค่ารักษาพยาบาล จากบริษัทประกันภัย เป็นสิทธิตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่บังคับให้เจ้าของรถ ซึ่งใช้รถ หรือมีรถไว้ เพื่อใช้ ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหาย สำหรับผู้ประสบภัย โดยประกันภัย กับบริษัทประกันภัย และต้องเสียเบี้ยประกันภัย ส่วนสิทธิของนายธนวัฒน์ที่จะได้รับเงินทดแทน ค่าบริการทางการแพทย์ จากสำนักงานประกันสังคม เป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งบังคับให้ลูกจ้าง ต้องเป็นผู้ประกันตน และส่งเงินเข้ากองทุนสมทบ เมื่อเป็นสิทธิของผู้ประกันตน ตามกฎหมายแต่ละฉบับ โดยนายธนวัฒน์ต้องเสียเบี้ยประกันภัย และส่งเงินเข้ากองทุนสมทบแล้วแต่กรณี ตามที่กฎหมายแต่ละฉบับดังกล่าว กำหนดไว้ ซึ่งต้องชำระทั้งสองทาง และเมื่อพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ไม่มีบทบัญญัติตัดสิทธิ มิให้ผู้ที่ได้รับเงินทดแทนตามกฎหมายอื่น แล้วมารับเงินทดแทนอีก สำนักงานประกันสังคม จึงจะยกเอาเหตุที่นายธนวัฒน์ ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาล จากบริษัทประกันภัยแล้ว มาเป็นข้ออ้าง เพื่อไม่จ่ายเงินทดแทน แก่นายธนวัฒน์หาได้ไม่ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เป็นกฎหมายพิเศษ ที่บัญญัติขึ้น เพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้าง หรือบุคคลอื่น ซึ่งประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงานรวมทั้งกรณีอื่นอีก จึงจะนำหลักกฎหมายทั่วไป ในเรื่องประกันวินาศภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้ นายธนวัฒน์ มีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ จำนวน 7,905 บาท จากสำนักงานประกันสังคม ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษานั้นชอบแล้ว อุทธรณ์ของสำนักงานประกันสังคมฟังไม่ขึ้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 2040/2539)

จากคำพิพากษาฎีกาที่กล่าวข้างต้น จึงสามารถถือเป็นบรรทัดฐานได้ว่า ถ้าผู้ประกันตน ตกเป็นผู้ประสบภัยจากรถ ย่อมจะสามารถเบิกได้ทั้งจากพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และจากบริษัทประกันภัย ใน
ทำนองเดียวกัน ผู้ประกันตน ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ในโรงพยาบาล และผู้ประกันตน มีการทำประกันภัยสุขภาพ ไว้กับบริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัย ก็ย่อมจะเบิกทั้งจาก พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และจากการประกันสุขภาพในขณะเดียวกัน

ปัญหามีอยู่ว่า ถ้าผู้ประกันตน ตกเป็นผู้ประสบภัยจากรถ ที่ฝ่าฝืน ไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหาย สำหรับผู้ประสบภัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 นอกจากผู้ประกันตน จะเบิกตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้แล้ว สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ของกรมการประกันภัย ยังจะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ให้กับผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นผู้ประกันตนอีกหรือไม่ สมมุติว่านายกำปง ขับรถยนต์ของนายกำปั่น ซึ่งฝ่าฝืนไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหาย ไปชนนายกำไรบนท้องถนน และนายกำปั่น ในฐานะเจ้าของรถ ไม่ยอมจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ให้กับนายกำไร นายกำไร จึงมายื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น จากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย กรณีเช่นนี้ ไม่ต่างไปจากกรณีของนายธนวัฒน์แต่ประการใด ดังนั้น กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย จึงต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ให้กับนายกำไร แล้วไปใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากนายกำปั่น ผู้เป็นเจ้าของรถ โดยอาศัยบทบัญญัติในมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535

ชนแล้วแยก แลกใบเหลือง ไม่เปลืองเวลา

ใบเหลือคืออะไร
ในช่วงเวลานี้ท่านอาจจะได้ยินคำว่า “ชนแล้วแยก แลกใบเหลือง ไม่เปลืองเวลา” อยู่บ่อย ๆ หลายท่านอาจจะสงสัยว่าใบเหลืองใบนี้คือใบอะไร มีความสำคัญอย่างไร เรามาทำความรู้จักกับเอกสารใบเหลืองนี้ เอกสารใบเหลืองเป็นเอกสารที่บริษัทประกันวินาศภัยออกให้แก่ลูกค้าผู้เอาประกันภัยซึ่งทำประกันภัยรถยนต์สี่ล้อประเภท 1* เพื่อใช้แลกเปลี่ยนกับอีกฝ่ายหนึ่งเมื่อรถยนต์สี่ล้อที่เอาประกันภัยดังกล่าวเกิดเหตุเฉี่ยวชนกัน

เอกสารใบเหลืองนี้จะเป็นกระดาษสี เหลืองสี่เหลี่ยม ขนาดกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร มีข้อความ 2 หน้า ด้านหน้าฝั่งซ้ายจะเป็นรายละเอียดของรถประกัน ซึ่งบริษัทผู้รับประกันภัยจะพิมพ์ข้อความให้แล้ว ฝั่งขวาจะเป็นแบบฟอร์มให้ผู้ขับขี่ประกันในขณะเกิดเหตุกรอกรายละเอียด ซึ่งได้แก่ ชื่อของผู้ขับขี่รถประกัน เลขที่ใบขับขี่หรือบัตรประชาชน เลขทะเบียนรถคู่กรณี และมีช่องให้ทำเครื่องหมายเลือกว่าผู้ขับขี่รถประกันเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด และช่องสำหรับลงลายมือชื่อของทั้งสองฝ่าย ด้านหลังจะเป็นคำแนะนำวิธีการใช้เอกสารโดยเอกสารใบสีเหลืองนี้บริษัทที่ รับประกันจะส่งให้ผู้เอาประกันภัยแนบ ไปพร้อมกับกรมธรรม์ประกันภัยประเภท 1 (เอกสารใบเหลืองขณะนี้จะมี 2 แบบ แบบหนึ่งจะเป็นแบบเก่า อีกแบบหนึ่งจะเป็นแบบปรับปรุงใหม่ ซึ่งใช้ได้ทั้งสองแบบ)

หมายเหตุ : ประเภท 1 หมายถึง กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภทที่ให้ความคุ้มครองครบตามความคุ้มครองทั้ง 4 หมวดความคุ้มครอง ได้แก่ 1.ความคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
2.ความคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย 3.ความคุ้มครองรถยนต์สูญหายไฟไหม้ 4.ความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้ายเพิ่มเติม

ประโยชน์ของใบเหลือ
โครงการ ชนแล้วแยกแลกใบเหลืองนี้ เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อผู้ทำประกันภัยและต่อบริษัทประกันภัยกล่าวคือ โครงการนี้จะช่วยลดปัญหาด้านการจราจร ลดความสูญเสียทางด้านเวลาของผู้ขับขี่รถที่มีประกันภัย โดยเมื่อรถเกิดเหตุแล้วสามารถใช้วิธีการแลกใบเหลืองนี้ได้เลย ไม่ต้องถกเถียงกัน ไม่ต้องรอพนักงานของบริษัทประกันภัย ไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ต้องถูกดำเนินคดี เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ไม่ต้องเสียเวลามาทำเรื่องกรณีอย่างนี้ บริษัทประกันภัยก็ไม่ต้องจัดส่งพนักงานออก

ตรวจสอบอุบัติเหตุ ค่าใช้จ่ายด้านการออกตรวจสอบอุบัติเหตุก็จะลดลง สามารถนำค่าใช้จ่ายที่ลดลงดังกล่าวมาบริการด้านอื่นให้ผู้ทำประกันภัยได้มาก ขึ้นอีก เมื่อการประกันภัยทำให้ประชาชนสะดวกเช่นนี้ ประชาชนก็จะทำประกันภัยประเภท 1 มากขึ้น การประกันภัยก็จะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง

สัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ซึ่งกันและกันโครงการชนแล้วแยกแลกใบเหลืองนี้ เป็นโครงการที่สมาคมประกันวินาศภัยเป็นผู้จัดให้มีขึ้น โดยความตกลงพร้อมใจกันของบริษัทประกันภัยและการสนับสนุนจากกรมการประกันภัย โดยบริษัทประกันภัยได้ทำความตกลงร่วมกันรองรับโครงการดังกล่าวแล้วว่า รถที่อยู่ในเงื่อนไขในโครงการนี้เฉี่ยวชนกัน บริษัทประกันภัยต่างฝ่ายต่างจะจัดซ่อมรถคันที่ตนเองรับประกันภัยไว้ และจะไม่เรียก
ร้อง ค่าเสียหายต่อกัน โดยไม่คำนึงว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก ซึ่งข้อตกลงนี้มีชื่อเรียกว่า “สัญญาสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกัน” ซึ่งหลายท่านอาจจะเคยได้ยินชื่อนี้กันมาบ้างแล้ว ฉะนั้นจึงมั่นใจได้ว่า เมื่อรถของท่านเกิดอุบัติเหตุ และท่านใช้วิธีการแลกเอกสารใบเหลืองตามวิธีการดังกล่าวนี้แล้ว ท่าจะไม่มีปัญหาในการเคลมกับบริษัทประกันภัยของท่านอย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม หากท่านยังต้องการให้พนักงานบริษัทประกันภัยออกไปบริการท่านยังจุดเกิดเหตุบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการนี้ทั้งหมดยังยืนยันพร้อมที่จะออกให้บริการท่านเสมอ

วิธีการใช้ใบเหลือง
เอกสารใบเหลืองนี้จะใช้เมื่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยได้เกิดเหตุเฉี่ยวชนกับรถยนต์สี่ล้อที่มีประกันภัยประเภท 1 เหมือนกัน และมีใบเหลืองลักษณะเดียวกันที่จะใช้แลกเปลี่ยนกับเรา ดังนั้นใบเหลืองนี้เราจะต้อง
เก็บ ไว้ในรถตลอดเวลาอย่าเก็บไว้ที่บ้านวิธีการใช้เอกสารใบเหลือง เมื่อรถประกันภัยเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนกับรถยนต์สี่ล้อ เราสอบถามคู่กรณีว่ารถคู่กรณีมีประกันภัยประเภท 1 หรือไม่ ถ้ามีเราก็แสดงใบเหลืองของเราและสอบถามอีก
ฝ่ายหนึ่งว่ามีใบเหลืองลักษณะ เดียวกันกับเราหรือไม่ ถ้ามีก็ตรวจดูสักนิดว่ารายการต่าง ๆ ในใบเหลืองตรงกับตัวรถอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ ถ้าตรงต่างฝ่ายต่างกรอกรายละเอียดลงในเอกสารของตน เมื่อกรอกครบถ้วนแล้วทั้งสองฝ่ายลงชื่อในเอกสารทั้งสองฉบับ ฝ่ายถูกลงชื่อในช่องฝ่ายถูก ฝ่ายผิด ลงชื่อในช่องฝ่ายผิด แล้วแลกเปลี่ยนกันและแยกย้ายกันได้เลย ไม่ต้องรอตำรวจหรือเจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันภัย และสะดวกเมื่อใดก็ไปแจ้งเคลมที่บริษัท หรือหากบริษัทใดมีบริการแจ้งเคลมโดยนัดหมายไปทำเคลมที่อู่ซ่อมรถเลยก็สามารถ ทำได้ พร้อมกันนั้นอย่าลืมขอใบเหลืองใบใหม่จากบริษัทประกันภัยของท่าน เพื่อไว้ใช้กรณีเกิดเหตุครั้งต่อไปแม้ผู้ขับขี่รถที่เกิดเหตุเฉี่ยวชนกันไม่ สามารถตกลงกันได้ว่าฝ่ายใดผิดฝ่ายใดถูก ก็ยังสามารถแลกเอกสารใบเหลืองกันได้ โดยเขียนข้อความเพิ่มเติมไปในเอกสารใบเหลืองของทั้งสองฝ่ายว่า “ตกลงกันไม่ได้ว่าฝ่ายใดผิดฝ่ายใดถูก”

ก่อนจาก หากรถของท่านเป็นรถยนต์สี่ล้อ ไม่ว่าจะเป็นรถเก๋งหรือรถบรรทุก ซึ่งทำประกันภัยประเภท 1 ไว้กับบริษัทประกันภัย โปรดตรวจสอบที่ซองกรมธรรม์ของท่านว่าบริษัทประกันภัยของท่านได้แนบเอกสารใบ เหลืองดังกล่าวมาให้ท่านหรือไม่ หากมีโปรดนำมาเก็บไว้ที่รถด้วย หากไม่มีโปรดติดต่อบริษัทประกันภัยของท่าน เพราะเมื่อถึงเวลาจำเป็นจะได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ และหากบุคคลที่ท่านรู้จักมีรถเช่นเดียวกับท่าน

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

Niche Keyword : นิชคีย์เวิร์ดที่ทำเงินด้วยตัวคุณเอง

ค้นพบหมวดหมู่ของนิชคีย์เวิร์ดที่ทำเงินด้วยตัวคุณเอง

ทุกครั้งที่ผมจะ หานิชคีย์เวิร์ด ผมจะแบ่งคีย์เวิร์ดออกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งแต่ละหมวดหมู่ก็จะมีนิชคีย์เวิร์ดแยกออกไปตามตลาดที่ต่างกัน และนิชคีย์เวิร์ดที่สามารถทำเงินได้ก็แบ่งได้เป็น 5หมวดหมู่ดังนี้

1- นิชเกี่ยวกับการเงิน (finance niches) เช่น loan, debt, banking, student loan, online investing, forex, stock market, currency exchange, realastate ฯลฯ

2- นิชเกี่ยวกับ เครื่องใช้ไฟฟ้า (consumer electronics niches) sony dvd player, samsung plasma tv, air conditioner, sony ps2, personal computer, dell computer, toshiba notebook, apple iphone, nokia mobile phone, floor heatingฯลฯ

3- นิชเกี่ยวกับงานบริการและท่องเที่ยว (service & travel niches) เช่น boston legal, cheap hotel rates, tax attorney, law firm marketing, escort service, dating service, cheap cruise, cheap flight ฯลฯ

4- นิชเกี่ยวกับความสวยความงาม (beauty product niches) เช่น hair removal, high heel shoes, prada handbag, acne laser treatments ฯลฯ

5- นิชเกี่ยวกับโรงเรียนและการฝึกฝน (school & training niches) เช่น yoga, driving lessons, weight training, language school, horse trainingฯลฯ

คุณจะสังเกตุเห็น ได้ว่านิชคีย์เวิร์ดที่ผมเลือกมาใช้นั้น จะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอินเตอร์เน็ตน้อยมาก เรื่องที่เป็นเรื่องที่คุ้นเคยกับเว็บมาสเตอร์หรือการหากินด้วยเว็บไซต์ ต่างๆก็คุณควรหนีให้ห่างถ้าอยากทำเงินกับ AdSense คีย์เวิร์ดที่คุณควรให้ความสนใจส่วนใหญ่ควรจะเป็นเรื่องที่จำเป็นในชีวิต ประจำวันของคนทั่วๆไปในโลกแห่งความจริง ไม่ใช่โลกออนไลน์

นิชคีย์เวิร์ดใน แต่ละหมวดหมู่ที่ว่ามานี้ จะเป็นไอเดียที่ดีให้คุณสามารถเอาไปหาจำนวนค้นหาในแต่ละวันได้จาก WordTracker Free หรือดูความนิยมและที่มาของคนค้นหาจาก Google Trends http://trends.google.com

ref : http://www.digitalmoneylife.com/

9 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จในการหาเงินกับ ClickBank

ต่อไปนี้จะเป็นวิธีที่ใช้ทำเงินกับ Affiliate โดยเฉพาะ ClickBank จากคนที่ประสบความสำเร็จ และสามารถหาเลี้ยงชีพด้วยสิ่งนี้มาโดยตลอด โดยไม่ต้องหางานอย่างอื่นทำอีก แม้แต่การหาเงินกับ Google AdSense ก็กลายเป็นรายได้เสริมไปทันที มาดูกันเลยครับว่าขั้นตอนที่เขาใช้กันมีอะไรบ้าง



1. เลือกตลาด

การเลือกตลาดกว้างเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นสิ่งแรก เหมือนกับการเลือกหมวดหมู่ของสินค้า ที่คุณสามารถหาไอเดียต่างๆ ได้ตาม eBay, Amazon Bestselling Product ฯลฯ อย่าลืมว่าตลาดมีเป็นหมื่นเป็นพัน แต่ตลาดที่ควรเลือกคือตลาดที่จะทำเงินให้ได้ง่ายกว่าตลาดอื่นๆ อย่างเช่น ตลาดสุขภาพ (health) , ตลาดเปลี่ยนแปลงตัวเอง (self improvement), DIY เช่น solar power), การเงิน (finance), ท่องเที่ยว (travel) ฯลฯ



2. เจาะตลาดเฉพาะ (long tail, micro niche)

เมื่อเลือกตลาดได้แล้ว ก็มาเจาะให้ลึกเข้าไปถึงความต้องการย่อย หรือเจาะจงตลาดให้ชััวร์ๆ ไปว่ามันคืออะไรกันแน่ เพื่อทำให้การทำตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น จากตลาดสุขภาพ ตลาดเฉพาะย่อยลงมาก็สามารถเป็นได้ตั้งแต่เรื่อง โรคมะเร็งชนิดใดชนิดหนึ่ง ไปจนถึงการเลือกกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น (stage cancer – healthy food for old people)…



3. วิเคราะห์คีย์เวิร์ด (Keyword Search)

เมื่อรู้แล้วว่าจะเจาะตลาดไหน ทีนี้ก็มาถึงการมาดูกันจริงๆ ว่าตลาดย่อยนั้นๆ เวลาคนต้องการจะหาข้อมูลเขาค้นหากันด้วยคำหรือคีย์เวิร์ดคำว่าอะไร ด้วยการใช้เครื่องมือง่ายๆ อย่าง Google Keyword Suggestion Tool แล้วนำเอาคำเหล่านั้นมาสร้างเว็บหรือเขียนบทความ



4. เลือกสินค้ายอดฮิตใน ClickBank

ทีนี้ก็ถึงเวลาเข้าไปที่ CB เพื่อดูว่าในนิชคีย์เวิร์ดนั้นๆ มีสินค้าอะไรบ้างที่ขายดิบขายดี และน่าสนใจที่สุด ดูได้จากเมนู Market Place จากนั้นใส่นิชเข้าไปแล้วเลือกให้เรียงผลลัพธ์จาก popularity และดูที่สินค้า Gravity ไม่ให้ต่ำกว่า 50 ขึ้นไป



5. ค้นพบไทเทิ้ลโดนใจ

จุดนี้เองที่จะสร้างความแตกต่างระหว่างผู้ประสบ ความสำเร็จกับผู้ล้มเหลว เมื่อได้สินค้าแล้ว ทีนี้ก็จะมาดูว่าสินค้าที่เป็น e-book ที่เลือกมานั้น มันแก้ปัญหาให้คนกลุ่มหนึ่งได้ จากคำถามอะไรมากที่สุด เช่นผมเลือก e-book เกี่ยวกับ ผมร่วง ทีนี้มันก็เป็นหน้าที่ๆ ผมต้องรู้ว่าเวลาคนผมร่วงอยากรู้วิธีแก้ปัญหาในเรื่องนี้ เขาจะพิมพ์ประโยคอะไรเข้าไปใน Google กันบ้าง เป็นต้น เช่น how to prevent hair loss, hair loss prevention tips อะไรทำนองนี้ ที่เป็นไทเทิ้ลอย่างดี (อย่าคิดเองเป็นอันขาด) ให้หาได้จาก Google Keyword Suggestion Tool เช่นเคย ด้วยการพิมพ์คำว่า hair loss หรือสินค้าที่คุณเลือกที่จะขายเข้าไป



6. สร้างบทความ (create article)

การสร้างบทความในทีนี้ จะต้องเป็นบทความที่ไม่ได้เอามาจากเว็บแจกบทความฟรี แต่สามารถเอามาจากการจ้างคนอื่นเขียน หรืออะไรก็ตารมที่อ่านแล้วสามารถทำให้ลูกค้าเชื่อได้ว่าคุณคือหนึ่งในจ้าว แห่งวงการนั้นๆ การหาเงินกับ ClickBank นั้นไม่เหมือนกับ AdSense ก็ตรงนี้เอง สำหรับการทำ AdSense คุณภาพของบทความไม่ใช่เรื่องใหญ่เท่า การสร้างบทความ ส่วนใหญ่จะต้องสร้างออกมาซัก 5-10 บทความอย่างต่ำ



7. สร้าง Landing Page

Landing Page คือปราการด่านสุดท้ายที่คุณจะใส่บทความเพื่อให้ลูกค้าเชื่อ แล้วยอมจ่ายเงินซื้อ e-book ต่างๆ ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วยหน้าแรก ด้วยคำโฆษณาต่างๆ จากหน้าก็บทความต่างๆ ที่เตรียมไว้ และสุดท้ายข้อความ testamonial (คำบอกเล่าของผู้ที่เคยใช้สินค้า)



8. เผยแพร่บทความ

ในการทำเงินกับ ClickBank หลายคนเข้าใจตรงจุดนี้ผิดไป ว่าต้องเหมือนกับการทำ Google AdSense ด้วยการเอาบทความไปใส่ไว้ในเว็บแล้วทำ SEO เพื่อรอวันเวลาอันยาวนานให้ Search Engine เข้ามาเห็นเพื่อ Rank ในอันดับที่ดี ซึ่งอาจใช้เวลาเป็นเดือนๆ และจากจำนวนบทความแค่นั้นที่มี ผมว่าคงเป็นไปได้ยากแน่นอน ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำก็คือต้อง by pass SEO ด้วยการเอาบทความไปฝากหรือ submit กับเว็บ articles ชื่อดังต่างๆ รวมทั้ง Squidoo lens และ Social Bookmarking ต่างๆ เพื่อให้ผู้คนมากมายจากเว็บเหล่านั้นเข้ามาที่ Landing Page



9. ทำซ้ำทั้งหมดอีกครั้ง

นั่นคือขั้นตอนทั้งหมดอย่างคร่าวๆ ในการทำเงินวันละหลายพันบาท (ไม่ได้ล้อเล่น) กับ ClickBank ที่ถ้ามีเวลาจะมาอธิบายขั้นตอนอย่างละเอียดในบทความหน้านะครับ ตอนนี้ผมหวังว่าหลายคนคงจะเห็นภาพกันมากขึ้นว่าการทำเงินกับ ClickBank นั้นมีขั้นตอนอะไรบ้างที่ต้องทำ แล้วพบกันใหม่ครับ

สร้าง Traffic มหาศาลให้บล็อกด้วยบทความ How-To

โทษทีครับทุกท่าน ที่หายไปเกือบอาทิตย์ ช่วงนี้ก็ยุ่งกับการปิดต้นฉบับหนังสือ SEO และ หนังสือ AutoBlog และการเช่าเว็บโฮสติ้งใหม่ที่ hostgator เพิ่มอีก แต่คงจะได้เห็นหนังสือ SEO ออกมาวางขายก่อน เพราะ AutoBlog นั้นอยู่ในขั้นตอนเขียนกำลังจะเสร็จ ไม่เหมือนหนังสือ SEO ที่อยู่ในขั้นตอนก่อนเข้าโรงพิมพ์ไปแล้ว เพื่อไม่เป็นการหน่วงเหนี่ยวเวลา เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่า

เมื่อปีก่อนผมได้เริ่มโปรเจคบล็อก White hat ไว้หนึ่งที่ แต่ก็ได้แค่เช่าโดเมนเนมทิ้งร้างเอาไว้เกือบปี เพิ่งจะมามีเวลาเริ่มทำอะไรไม่กี่เดือนนี้เอง (www.macinuse.com) เป็นบล็อกที่เกี่ยวกับการใช้แมคต่างๆ ซึ่งก็เป็นอะไรที่ผมตั้งใจเอาไว้นานแล้วว่าจะมีเว็บ White Hat แบบตามใจฉันบ้าง พูดอีกอย่างคือบล็อกแบบที่ไม่ได้สร้างขึ้นมาเหตุผลทางการหาเงินเป็นหลัก คือสร้างมาจากความชอบของตัวเองจริงๆ ที่เป็นสากลโลก มีเนื้อหาภาษาอังกฤษ

ต้นปีนี้ก็เพิ่มจะได้มีเวลา ทำให้ได้เร่ิมโพสบทความไปได้เดือนกว่าๆ เกือบสองเดือน เลยได้เห็น Traffic จากอาทิตย์ที่สองเมื่อเริ่มโพสไปได้ 10 บทความ จากวันละ 50 unique visitor ก็ขึ้นมาถึงวันละ 500 unique visitor (1-1500 page view) ต่อวัน ภายในเวลาเกือบสองเดือนมานี้ ซึ่งก็เริ่มเป็นเรื่องที่ไม่น่าตกใจสำหรับผมอีกแล้ว หลังจากทำมาหลายบล็อกเหลือเกิน จนรู้จุดแล้วว่า มันอยู่ที่…ไท เทิ้ล และบทความ (นี่เป็นหนึ่งในหลายๆ วิธีนะครับ ยังมีวิธีอื่นๆ อีกมาก เช่น ฝากลิงก์ให้มากที่สุด และใช้บทความซ้ำชาวบ้าน อะไรอย่างนั้น ซึ่งนอกประเด็น White Hat) ที่ต้องเป็นเรื่องที่คนตามหากันมากถึงมากที่สุด และแน่นอนต้องเป็น unique content (จ้างเขียน และหาบทความเด็ดๆ จากภาษาอื่นๆ มาแปลและเรียบเรียงใหม่บ้าง) แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าบทความอะไรที่คนอยากอ่าน ก็ไม่ยากครับ อย่างแรก ถ้ามันเป็นเรื่องที่คุณชอบอยู่แล้ว คุณก็คงนึกออกว่าปัญหาอะไรที่ค้างคาใจคนในวงการของคุณกันมาก แต่ไม่มีใครหาคำตอบที่อ่านเข้าใจง่ายๆ มาให้อ่านกันเลย นอกจากนั้นก็จะเป็นการใช้เครื่องมือเข้าช่วย

ผมใช้ Google Keyword Suggestion Tool ค้นคำว่า How และ Mac เข้าไป ผลก็ออกมาให้เห็นว่า ใครอยากรู้ How-To ในเรื่องของ Mac เรื่องใดมากที่สุด และผมก็ไปจ้างคนมาเขียนให้ หรือเขียนเองตามเวลาอำนวย แต่ต้องแน่ใจว่าตั้งไทเทิ้ลให้ดีตามที่คนชอบพิมพ์หากันด้วย สำคัญเช่นกัน เพียงคุณมีแค่ 2-3 บทความแบบทำนองนี้ เชื่อหรือไม่ว่ามันสามารถบูสผู้ชมได้วันละหลายร้อยคนเป็นเดือนๆ ได้เลย และจนป่านนี้ Traffic ก็ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจากที่ตรวจผลใน Google Analytic (ไม่ใช้ไม่ได้เลย) ก็เห็นเลยว่า คนที่เข้ามาในบล็อกส่วนใหญ่เข้ามาอ่านไอ้เจ้าสองสามบทความที่ผมตั้งเป้าเอา ไว้แค่นั้นเอง ส่วนคนที่เข้ามาเพิ่มเรื่อยๆ ก็อาจจะเป็นคนที่พึ่งเริ่มใช้คอมมือใหม่ ที่มีเพิ่มขึ้นมาทุกวัน ไม่มีหยุด

แต่ที่ว่ามาทั้งหมด ส่วนหนึ่งก็เป็นผลพลอยได้ของการทำบล็อก white hatที่เป็นเรื่องที่ตัวเองชอบ ทำให้รู้ว่าคนส่วนใหญ่ที่ชอบเรื่องนี้เหมือนกับเราอยากรู้อะไรมากที่สุด เพราะไม่งั้นผมคงไม่พบวิธีการแบบนี้ได้ นอกจากนี้ผมว่าถ้าเข้าไปดูใน yahoo answer ก็จะต้องมีข้อมูลให้อีกมาก ว่ามีใครอยากรู้อะไรในคีย์เวิร์ดไหนมากที่สุด แล้วเราก็หาคำตอบดีๆ มาใส่ไว้ในบล็อกเรา

ยังไงก็กะว่าจะทำบล็อกนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะขี้เกียจ เมื่อถึงเวลานั้น อาจจะเอาไปขายใน sitepoint.com ก็เป็นได้ ถ้ายิ่งเว็บโดเมนเนมเก่าๆ ยิ่งขายได้ราคา (.com) ฝากไว้แค่นี้ก่อนครับ แล้วจะมาพูดเรื่องขายเว็บ และอื่นๆ ต่อ ช่วงนี้ยุ่งมากๆๆๆๆ เลย แฮกๆ แฮ่ๆๆ

แนะนำ Host ที่ดีที่สุด (โฮสไทยหรือโฮสนอก)

แน่นอนว่าใครที่อยากจะเริ่มธุรกิจออนไลน์ด้วยการมีเว็บหรือบล็อกเป็นของ ตัวเอง ก็คงต้องถึงเวลาที่ต้องเลือกใช้บริการเว็บโฮสติ้งด้วยตัวเอง ซึ่งสมัยนี้ ก็ต้องขอบอกว่า มีให้เลือกมากมายหลายแบบหลายบริการที่เกิดขึ้นมาแข่งขันกันอย่างสนุกสนาน มีทั้งเว็บโฮสติ้งราคาแพง ราคาถูกสุดขีด ทั้งโฮสไทย โฮสนอก มีให้เลือกเยอะๆ ก็ดีครับ

แต่ถ้าเลือกเว็บโฮสไม่เป็นล่ะ หลายคนก็ต้องเลือกโดยที่ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้นก็ต้องใจเย็นหน่อย ไม่งั้นก็คงต้องเรียนรู้ด้วยการเสียเงินฟรีๆ อย่างผมเป็นต้น ที่ลองมาแล้วทั้งโฮสไทย โฮสเทศ เสียเงินฟรีๆ มาหลายครั้งหลายกว่าจะมาเจอโฮสที่ใช่เลย

ทีนี้ลองนึกภาพดูว่า ถ้าเลือกเว็บโฮสติ้งผิด จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง บางคนเลือกไปแล้ว บริการติดๆ ดับๆ ล่มๆ วันดีคือดีเข้าเว็บไม่ได้ ล็อกอินก็ไม่เข้า ฐานข้อมูล MySQL เสียหาย หรือข้อมูลหายไปเฉยๆ ถ้ากู้ได้ก็ดีไป แต่ถ้าไม่ล่ะ ทำให้ธุรกิจขายสินค้าบนเว็บต้องหยุดชงัก แทนที่จะได้เริ่มทำมาหากิน ต้องมานั่งปวดหัวกับเรื่องเทคนิคที่ไม่น่าจะต้องมารู้ให้หนักหัวเลย ต้องติดต่อ support ของโฮสเดือนละหลายหน นั่งรอให้คนโน้นคนนี้มาช่วย สุดท้ายก็ต้องทนเพราะจ่ายเงินไปแล้ว แล้วมันใช่เรื่องเหรอที่ต้องมาทนมาเจอกับอะไรอย่างนี้ เสียเงินแล้วยังต้องมาเจอเรื่องแบบนี้ ไม่คุ้มแน่ สุขภาพจิตเสียอีก

เอาล่ะครับ ดังนั้น ผมจึงได้เลือกโฮสที่ดีที่สุดในขณะนี้ ที่ผมใช้ และได้รับการยอมรับกันทั่วโลกจากนักหากินกับเว็บออนไลน์ทั้งหลายที่จะช่วย ให้ใครหลายคนเลือกโฮสติ้งอย่างไม่ต้องเซ็งชีวิต กุมขมับไปอีก 1 ปีเต็ม

แต่ถ้าพูดถึงโฮสไทย ที่รู้ๆ กันอยู่ว่าโฮสติ้งไทยนั้นแพง! และเทคโนโลยี และบุคคลากรก็หายากกว่าเมืองนอก ทำให้โฮสไทยแม้จะมีมากมาย แต่การบริการก็ยังถือว่ายังตามหลังเมืองนอกอยู่มาก หลายครั้งต้องแก้ปัญหาเอง และต้องให้โทรศัพท์ไปคุยเอง แค่จะใส่ Domain เข้าไปใหม่ หรือสร้าง MySQL ก็ต้องโทรไปขอ จะบ้าหรือ! นี่มันยุคไหนแล้ว? นี่ผมกำลังพูดถึงโฮสที่ว่ากันว่าดีที่สุดในเมืองไทย (ขึ้นต้นด้วยตัว P ลงท้ายด้วย R) ไม่ใช่โฮสกะรจอกที่ไหนเลย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมเองก็ไม่เคยลองใช้ที่อื่นๆ เท่าไหร่นัก อาจะเป็นการด่วนตัดสินใจไปก็เป็นได้

ซึ่งยังไงแล้ว ผมคิดว่า ณ เวลานี้ ถ้าจะทำมาหากินกับเว็บ การเช่าโฮสนอกย่อมคุ้มค่าราคาถูกกว่าแน่นอน ซึ่งเท่าที่ผมทำการสำรวจมาก็พบว่ามีอยู่ 2 ที่ดังนี้ที่ทุกคนเชื่อใจที่สุด และเป็นโฮส Host Plan แบบไม่จำกัดจริงๆ ที่อื่นบางที่บอก unlimited แต่ถ้าใช้เกิน โดนเตะโดนแบนเฉย ยังไงก็ตาม คุณสามารถอ่านรีวิวโฮสต่างๆ ที่ผมแนะนำเหล่านี้ได้จาก ThaiHostFreeCash.com

Email marketing คือ

Email marketing คือ??

Email marketing เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดแบบออนไลน์ ที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายแบบไดเร็กเมล์ในรูปแบบของอีเมล์นั่นเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการประชาสัมพันธ์, โฆษณา, หรือเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสาร ให้กับกลุ่มเป้าหมายในรูปแบบข้อมูลแบบ text หรือ html โดยผู้ส่งจะส่งข้อมูลเหล่านั้น ไปยังที่อยู่อีเมล์ของผู้รับเป้าหมาย อาจจะ ส่งครั้งละ จำนวนน้อยๆ ถึงคราวละมากๆ สำหรับในประเทศไทยแล้วมีแนวโน้มการใช ้ email marketing เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะ ว่า ถูก สะดวก และรวดเร็ว ตรงกลุ่มเป้าหมาย และยังมีผลตอบรับค่อนข้างเร็วอีกด้วย มี 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ


1. การทำ email marketing โดยวิธีการส่ง อีเมล์คราวละมากๆด้วยโปรแกรมส่งอีเมล์

กลุ่ม นี้ จะซื้อรายชื่ออีเมล์ หรือดูดอีเมล์มาจากตามเวปบอร์ด หรือเวปไซต์ต่างๆ และทำการส่งข้อความที่ต้องการส่งอีเมล์ที่แถมมา หรือที่หามาได้

2.การทำ email marketing ผ่านผู้ให้บริการด้านนี้โดยเฉพาะ

ซึ่ง ข้อความของคุณจะถูกส่งด้วย mail server ของผู้ให้บริการซึ่งผ่านระบบ email filters แล้วก่อนที่จะถูกส่งไปข้อความ ข้อเสียคือราคาค่อนข้างแพงกว่าแบบแรกมาก

Google.com